รองศาสตราจารย์  ดร. พิชญา ตัณฑัยย์ (IEEE Senior Member) หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เดินทางไปปฏิบัติงาน ณ ประเทศ มาเลเซีย เพื่อจัดประชุมกรรมการอำนวยการนานาชาติ (International Steering Committee and International Advisory Committee หรือ ISC/IAC) ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการนานาชาติ (Chair of ISC/IAC) ของงานประชุมวิชาการนานาชาติ ISPACS (International Symposium on Intelligent Signal Processing and Communication Systems) และเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีและกิจกรรมต่าง ๆ ของงานประชุมนานาชาติ ISPACS 2022  มีกำหนด 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ที่ โรงแรม G GURNEY HOTEL ปีนัง ประเทศ มาเลเซีย

ทีม Alpha จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผ่านเข้ารอบรอบชิงชนะเลิศ การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับ”ผู้หญิง”และ“เพศสภาพเป็นหญิง” 

สมาชิกทีม:

  • นางสาวณัฐณรินทร์ โจวรรฐะ รหัสนักศึกษา 6410110144
  • นางสาวพาขวัญ เสนาคชวงศ์ รหัสนักศึกษา 6410110353

อาจารย์ที่ปรึกษา: 

รองศาสตราจารย์ ดร. แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ 

รายละเอียดงาน:

การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับ”ผู้หญิง”และ“เพศสภาพเป็นหญิง” (Women: Thailand Cyber Top Talent 2022) ครั้งแรกของประเทศไทย จัดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จํากัด โดยการสนับสนุนจาก ศูนย์ประสานงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้านโทรคมนาคม (TTC-CERT) และ บริษัท สยามถนัดแฮก จำกัด โดยรอบแรกจัดการแข่งขันไปเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์ 

โดยมีทีมผู้ผ่านเข้ารอบรอบชิงชนะเลิศวันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ที่ CM2 ชน 4 โรงแรม โนโวเทล กรุงเทพ สยามสแควร์ ทั้งหมดจำนวน 30 ทีม ดังนี้
?ระดับนักเรียนนักศึกษา จำนวน 15 ทีม
ทีม Tum Dai or Dai Tum สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ทีม Monster Hunter สังกัด มหาวิทยาลัยมหิดล
ทีม Helloeiei สังกัด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง
ทีม CHAFIRN สังกัด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ทีม Donald Duck สังกัด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ทีม Slytherin สังกัด โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม
ทีม justmariankub สังกัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทีม Jugemu Jugemu สังกัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ทีม Alpha สังกัด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทีม ANUBIS III สังกัด โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
ทีม ANUBIS II สังกัด โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
ทีม Blond สังกัด โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทีม Bibimbab สังกัด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทีม SPU-cancer สังกัด มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ทีม CyberKNRed สังกัด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
?ระดับบุคคลทั่วไป จำนวน 15 ทีม
ทีม Blnk Mk
ทีม hacKEr4nDtHECA7
ทีม ToyTurtle9
ทีม Backache
ทีม CHCKEN
ทีม CINPA
ทีม White hat ladies
ทีม PrincessPondPond
ทีม SecSuperGirl
ทีม ASwitch2022
ทีม special education
ทีม Vuln is here
ทีม DEZON
ทีม Double N
ทีม NARI
 
ติดตามการถ่ายทอดสดการแข่งขัน ได้ทาง Live Facebook : NCSA Thailand

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดการแข่งขันหุ่นยนต์เคลื่อนที่บนสนามจำลอง ภายใต้โจทย์ โรงเรือนฟาร์มไก่  ภายใต้โครงการ CPF Young Software Developer Program เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 241-251 ชุดวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการควบคุมหุ่นยนต์ ของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาคการศึกษาที่ 1/2565

ผู้เข้าร่วม        

นักศึกษาผู้ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 241-251 จำนวน  26 คน

ทีมอาจารย์ผู้สอน    จำนวน 3 คน

  • ดร.อนันท์ ชกสุริวงค์
  • ผศ.ดร.ธเนศ เคารพาพงศ์
  • ดร.รัฐชัย วงศ์ธนวิจิต

และทีมวิศวกรจากบริษัทซีพีเอฟ ผู้ให้โจทย์และคำปรึกษา

การจัดการแข่งขัน

การแข่งขันแบ่งเป็น 3 รอบ (สนาม)  และสนามที่ 3 จัดเมื่อวันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2565 โดยเป็นการจัดการแข่งขันที่ห้อง R300 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ อาคาเรียนและปฏิบัติการรวม (ตึกหุ่นยนต์)  คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  และมีการ Live เพื่อให้ทีมวิศวกรของบริษัท CPF ผู้ร่วมดูแลตาม โครงการ CPF Young Software Developer  Program ร่วมให้คำแนะนำนักศึกษาแต่ละทีม

ผลการแข่งขัน

 

สนามที่ 1

--------------------------------- 

สนามที่ 2

--------------------------------- 

สนามที่ 3

--------------------------------- 

รางวัลที่ 1 

นายพงศ์พิพัฒน์ ขุนชิต

นางสาวปทิตตา สุขสมบูรณ์ 

นายกฤตนัย ชูเกลี้ยง

--------------------------------- 

นายพงศ์พิพัฒน์ ขุนชิต

นางสาวปทิตตา สุขสมบูรณ์

นายกฤตนัย ชูเกลี้ยง

--------------------------------- 

นายพงศ์พิพัฒน์ ขุนชิต

นางสาวปทิตตา สุขสมบูรณ์

นายกฤตนัย ชูเกลี้ยง

--------------------------------- 

รางวัลที่ 2 

นายฎอน อังศุภาพงศ์

นางสาวเจณิตา รัตนกันทา

นายธนกฤต ฉิมพลี ปักษ์

--------------------------------- 

นายกรวิชญ์ อินทมุสิก

นางสาวณิชา วิกรมโรจนานันท์ 

นางสาวศศิธร ศักดิ์แก้ว

--------------------------------- 

นายกรวิชญ์ อินทมุสิก

นางสาวณิชา วิกรมโรจนานันท์ 

นางสาวศศิธร ศักดิ์แก้ว

--------------------------------- 

รางวัลที่ 3 

นายศิวกร โรจนกรินทร์

นายอาริฟีน หมากสตูน

นางสาววันวิสาข์ ใจเอื้อ

นายจตุรวิชญ์ ค่อฉุ้น

นางสาวกุลวดี สุทธจิตร

นางสาวบุณยวีร์ ละอองพันธ์

นายจตุรวิชญ์ ค่อฉุ้น

นางสาวกุลวดี สุทธจิตร

นางสาวบุณยวีร์ ละอองพันธ์

งบประมาณ

โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจำนวน 50,000 บาท  จากบริษัทซีพีเอฟ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) 

CPF Young Software Developer Program (YSDP)

YSDP เป็นโครงการเพื่อการ เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในประเทศไทยในด้าน Programming ให้มีความพร้อมก่อนก้าวออกจากสถานศึกษาเข้าสู่โลกของการทำงาน 

เพื่อการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในประเทศไทยในด้าน Programming ให้มีความพร้อมก่อนเข้าสู่โลกของการทำงาน ผ่านการปฏิบัติและฝึกฝนประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะจากห้องเรียนมาสู่การแก้โจทย์ธุรกิจจริง ผ่านความร่วมมือกับบริษัทซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ทั้งในด้านเงินสนับสุนนการศึกษารายวิชา และการให้โจทย์จากการทำงานจริง รวมถึงการได้รับความร่วมมือจากฝ่ายวิศวกรรม บริษัทซีพีเอฟ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมให้คำปรึกษาดำเนินโครงการ

วัตถุประสงค์โครงการ
1. สร้างประสบการณ์จริงเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานในอนาคต
2. สร้างแรงบันดาลใจ และรางวัลในการบรรลุเป้าหมาย
3. ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหา จากกรณีศึกษาของธุรกิจ โดยมีโค้ชให้คำแนะนำ
4. ร่วมค้นหาและพัฒนาศักยภาพในกลุ่มนักศึกษาผ่านการลงมือทำจริง

 

ดร. อนันท์ ชกสุริวงศ์  อาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2566 รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น (รางวัลระดับดี) สาขาการศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้

ผลงานเรื่อง "หุ่นบาดเจ็บจากยางธรรมชาติสำหรับฝึกการห้ามเลือดก่อนนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล" (Natural Rubber Trauma Manikin for Practicing Prehospital Hemorrhage Control) 

หุ่นยางธรรมชาติเพื่อการฝึกนักศึกษาแพทย์ สำหรับการปฐมพยาบาล การห้ามเลือดผู้บาดเจ็บ โดยใช้ความรู้ทางปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้เกิดขบวนการเรียนรู้ที่ถูกต้อง เช่น ลักษณะท่าทางและการใช้แรงที่ถูกต้อง เป็นต้น

ทีมนักประดิษฐ์

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพ. โกเมศวร์ ทองขาว

2. รองศาสตราจารย์ ดร. นิธินาถ แซ่ตั้ง

3. ดร. อนันท์ ชกสุริวงศ์ 

บทความของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นางสาวมัลลิกา เกลี้ยงเคล้า นักศึกษาระดับปริญญาเอก ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร IEEE Access ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล  Web of Science  โดยมี ดร. สมชัย หลิมศิโรรัตน์  เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา 

Title: The Design and Development of a CausalThe Design and Development of a CausalBayesian Networks Model for the Explanationof Agricultural Supply Chains

Authors: MALLIKA KLIANGKHLAO, SOMCHAI LIMSIRORATANA  BUKHOREE SAHOH 
Authors' Affiliations:

Department of Computer Engineering, Prince of Songkla University, Hat Yai, Songkla 90112, Thailand
Informatics Innovation Center of Excellence (IICE), School of Informatics, Walailak University, Tha Sala, Nakhon Si Thammarat 80160, Thailand

ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนทุนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผ่าน Thailand Education Hub for ASEAN Scholarship in Doctoral Degree

Kanazawa University ประเทศญี่ปุ่น เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยน KUEP และ KUEP-Online (2023-2024) โดยมีคุณสมบัติเบื้องต้นคือ
1. มีผลการเรียนดี
2. มีความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น/อังกฤษในระดับดี (สำหรับผู้ที่ลงเรียนในรายวิชาที่การเรียนการสอนเป็นภาษาญี่ปุ่น ต้องมีคะแนน Japanese-Language Proficiency Test (JPLT) ไม่ต่ำกว่า N2 และสำหรับผู้ที่ลงเรียนในรายวิชาที่การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ต้องมีผลคะแนนภาษาอังกฤษ TOEIC Listening & Reading Test 700, TOEFL-iBT 72, TOEFL-PBT 527, IELTS 5.5, หรือ Cambridge English 160
โดยผู้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาจาก Kanazawa University

นักศึกษาที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ www.interaffairs.psu.ac.th หัวข้อ Announcements และจัดส่งใบสมัครพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องผ่านคณะต้นสังกัดไปยังศูนย์กิจการนานาชาติและสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 สำหรับการสมัครไปแลกเปลี่ยนภายใต้โครงการ KUEP ในช่วง Spring Semester และภายในวันที่ 30 มกราคม 2566 สำหรับการสมัครไปแลกเปลี่ยนในช่วง Fall Semester เพื่อดำเนินการในลำดับถัดไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

 

Page 14 of 23
Go to top