สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) โดยสถาบันวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ จัดกิจกรรม NCSA CTF Boot Camp 2024 รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2567 ณ โรงแรมเดอะริช จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้กิจกรรมจัดการแข่งขันทักษะทางไซเบอร์ (Cyber Top Talent) เพื่อยกระดับความสามารถของบุคลากรไทย ระดับมัธยมศึกษา อุดมศึกษา และประชาชนทั่วไป และสร้างความตระหนักรู้ทางความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Awareness) ผ่านค่ายกิจกรรม ในรูปแบบ Capture The Flag (CTF)  

  นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้สมัครและผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมอบรมและการแข่งขันในรอบนี้ และมีผู้เข้าร่วมจำนวน 93 คน จากทั่วประเทศ และ ขอแสดงความยินดีกับ นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ ที่ได้คว้าเหรียญทองชนะเลิศจากการแข่งขัน NCSA CTF Boot Camp 2024 ในรอบนี้ได้สำเร็จโดยทำคะแนนสูงสุดทั้งระดับทีม และ ระดับบุคคล

ระดับทีมคะแนนสูงสุด ลำดับที่1 ได้แก่ REMCUS ประกอบด้วยสมาชิก ดังนี้
1. นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ **มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์**
2. นางสาวชัญญาณัฏฐ์ สอดศรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
3. นายขจรวิทย์ เพ็ชร์เล็ก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4. นายกิตติศักดิ์ ปัญญา โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร

คะแนนสูงสุดระดับบุคคล  ลำดับที่ 1 ได้แก่ **นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์** **มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์**

          ภายใต้กิจกรรมการฝึกอบรมของค่าย NCSA CTF Boot Camp 2024 นี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการฝึกอบรม ทั้งความรู้และทักษระด้าน Cyber Security เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Capture The Flag (CTF) ความรู้พื้นฐานและฝึกปฏิบัติตามหัวข้อโจทย์การแข่งขัน Web application, Digital Forensic, และ Network and Mobile Security ซึ่งเป็นพื้นฐานและแนวทางสาขาอาชีพด้านความมั่นปลอดภัยไซเบอร์

Websites : https://ctf.in.th/ncsactfbootcamp2024/ , https://www.facebook.com/THNCAbyNCSA    

   

 

 

 

 

ระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน 2567 มีการจัดการแข่งขันเขียนโปรแกรมระดับประเทศไทย ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร มีทีมนักศึกษาจากทั่วประเทศ ผ่านเข้าแข่งขันรวมทั้งสิ้น 56 ทีม จาก 21 สถาบันการศึกษาทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ อาทิ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และ ภูเก็ต เป็นต้น โดยสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม. อ. ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 3 ทีม ทีมละ 3 คน เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีอาจารย์เสกสรรค์ สุวรรณมณี เป็นผู้ควบคุมทีม

          กิจกรรมการแข่งขันในวันแรกหลังจากลงทะเบียนและพิธีเปิดการแข่งขัน มีการซ้อมและทดลองระบบแข่งขัน จากนั้นในวันที่ 8 กันยายน 2567 เป็นการแข่งขันเขียนโปรแกรม 5 ชั่วโมงเต็ม มีโจทย์ปัญหา 14 ข้อทุกทีมเขียนโปรแกรมโดยเลือกใช้ภาษาโปรแกรม เช่น C/C++, Python, Java หรือ Kotlin เขียนโปรแกรมเพื่อแก้โจทย์ปัญหาให้ผ่านภายในเวลาที่กำหนด ผลการแข่งขัน มีทีมแก้ปัญหาได้สูงสุดจำนวน 8 ข้อ และมีการจัดอันดับคะแนนตามจำนวนข้อที่ทำได้และเวลาที่ใช้ ผลลำดับการแข่งขันได้ประกาศดังตารางอันดับการแข่งขันนี้ (https://icpc-2024.cp.eng.chula.ac.th/contest/scoreboard

   รางวัลที่ 1 (เงินรางวัล 25,000 บาท) : ทีม 998244353 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำได้ 8 ข้อ [อันดับ 1]

   รางวัลที่ 2 (เงินรางวัล 20,000 บาท) : ทีม Hmm :// จากมหาวิทยาลัยหอการค้า ทำได้ 4 ข้อ  [อันดับ 5]

   รางวัลที่ 3 (เงินรางวัล 15,000 บาท) : ทีม La Casa จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทำได้ 4 ข้อ  [อันดับ 7]

          ทีม PSU-COE-02 ทำโจทย์ได้ 4 ข้อ เช่นกัน ได้อันดับที่ 15 และ ทีม PSU-COE-01 ทำได้ 3 ข้อ ได้อันดับที่ 25 และทีม PSU-COE-03 ทำได้ 1 ข้อ ได้อันดับที่ 44

          เวทีการแข่งขันเขียนโปรแกรม ICPC เป็นการแข่งขันการแก้ปัญหาโดยเน้นการใช้อัลกอริทึมและทักษะการเขียนโปรแกรมขั้นสูงเพื่อแก้ปัญหาภายใต้สภาวะแวดล้อมที่กำหนด ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม และการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาได้ การแข่งขัน ICPC ในระดับชาตินี้เป็นการเวทีให้นักศึกษาได้แสดงความสามารถและเตรียมทีมที่มีศักยภาพ สำหรับการแข่งขัน ICPC ในระดับนานาชาติ เพื่อจะคัดทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศระดับโลก หรือ ICPC World Finals ประจำปีต่อไป     

นักศึกษา จาก สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 ทีม
PSU-CoE-01: นายกรวิทย์ กอหลัง, นายพชรพล ศุกลสกุล และ นายพชรพล เกตุแก้ว
PSU-CoE-02: นายฟาริก บูรพาภักดี, นายวิลดาน ผิดไรงาม และ นายศรัณยพงศ์ เอี่ยมอนงค์

PSU-CoE-03: นายธรรมีนา เพ็งชัย, นายเนติวุฒิ เกตุกำพล และ นายปรเมษ แก้วอุบล
อาจารย์ที่ปรึกษา/ผู้ควบคุมทีม (Team Coach) อ. เสกสรรค์ สุวรรณมณี สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. โกสินทร์ จำนงไทย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บรรยายในหัวข้อ Machine-Learning-Based System Implementation in Digital Transformation   ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 - 14.40 น. ณ ห้องประชุมดงยาง 1 และ Zoom Online โดยการบรรยายนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดวิชา 241-353 ชุดวิชาระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Ecosystem Module) ซึ่งมีนักศึกษาจากทั้ง 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้

DSC09606

DSC09608

DSC09614

DSC09615

DSC09616

DSC09618

DSC09620

DSC09627

DSC09642

DSC09663

DSC09666

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร. โกสินทร์ จำนงไทย ยังได้เป็นเป็นประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หัวข้อ Advancements in Digital Pathology for Multi-tissue Histological Images ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายอรรถสุนทร ไตรสุวรรณ ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 14.45 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  R101 อีกด้วย

a1

a3

a22

toneviva

 

 

ในระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม 2567 - 3 กันยายน 2567  นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science หรือ  JST (Japan Science and Technology) Sakura Science Program โดยเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ณ  Miyazaki University ประเทศญี่ปุ่น และนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567

ในงานนี้มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 4 คน โดยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก 2 คน และ ระดับปริญญาโท 2 คน จากคณะทรัพยากรธรรมชาติและคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.ชุติมา ตันติกิตติ จากสาขาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Prof. Dr. Thi Thi Zin  เป็นผู้ดูแลโครงการ JST Sakura Science Program ของ Miyazaki University

รายนามนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่เข้าร่วมโครงการ

  • ระดับปริญญาโท นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม
  • ระดับปริญญาเอก นายเตาฟีก หลำสุบ

a5

คณะเดินทางจากประเทศไทย 

a3

ภาพการนำเสนอผลงาน ณ  Miyazaki University

z3

z4

z6

z8

ภาพในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567

z2

z12

z13

m1

นายเตาฟีก หลำสุบ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาเอก นำเสนอในหัวข้อ A Scalable Architecture for Improving Adaptive Bitrate Streaming Services

z11

 q3

q1

นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาโท นำเสนอในหัวข้อ Time-Driven Cost Estimation Learning Model

 w2

w9

w7

w5

 

ทัศนศึกษา วันที่ 1 กันยายน 2567

เยี่ยมชมน้ำตกและศาลเจ้า รับประทานอาหาร

 t1

t2

t3

t4

d1

d2

t5

 เยี่ยมชมฟาร์มปศุสัตว์ ที่ดูแลด้วยระบบ IoT วันที่ 2 กันยายน 2567

ชมระบบฟาร์มและงานวิจัยเกี่ยวกับ image processing ที่ใช้กับการบริการจัดการฟาร์ม

 y2

y1

y3

y7

y5

y6

y8

y4

สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น วันที่ 2 กันยายน 2567

j1

j2

นำเสนอโปสเตอร์ในกิจกรรมของ  Sakura Science Program วันที่ 2 กันยายน 2567

j3

j4

 

นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อทีม AI Rebar Auto Vision ได้รับรางวัลชมเชย จากการแข่งขัน STECON Construction Innovation Challenge 2024 ซึ่งจัดการแข่งขัน โดย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 9 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในโครงการ STECON Construction Innovation Challenge ครั้งที่ 2 เพื่อให้นิสิตนักศึกษาใช้ความรู้ด้านวิศวกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ค้นหานวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดผลกระทบต่อสังคม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยให้ยั่งยืน
โดยในวันที่ 16 สิงหาคม  พ.ศ. 2567 มีนิสิตนักศึกษา ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 10 ทีม ได้นำเสนอผลงาน มีคณะกรรมการจากบริษัทซิโน-ไทยฯ 8 ท่าน 

รายชื่อสมาชิกทีม AI Rebar Auto Vision

1. นายชวินธร ชื่นชม ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
2. นางสาวพิชญ์ณัญญา แสนประเสริฐ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
3. นางสาวจรัญญา บุญทอง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
4. นางสาวณัฏฐธิชา วงศ์เดช ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
6. นายดุริย โกศลเหมมณี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
7. นายธัชชยุต ดำรงธนกิตติ์ ชันปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคาทรอนิกส์
8. นายอินทัช เลิศวัฒนา ชันปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ

 st2

st4

st3

st7

Prof. Dr. Thi Thi Zin จาก Information and Communication Technology Program, Faculty of Engineering, Miyazaki University เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และประชุมชี้แจงเรื่องนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ JST Sakura Science Program ณ ห้อง 265 อาคาร 2 คณะทรัพยากรธรรมชาติ ใน วันที่ 14 สิงหาคม 2567 ซึ่งจะมีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วม 4 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก 2 คน และ ระดับปริญญาโท 2 คน จากคณะทรัพยากรธรรมชาติและคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมี ผศ.ดร.ชุติมา ตันติกิตติ จากสาขาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผู้ประสานงานหลัก

ttz2

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่เข้าร่วมโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science หรือ  JST (Japan Science and Technology) Sakura Science Program จะเดินทางไปนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28-29 สิงหาคม 2567

ในงานนี้มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 4 คน โดยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเ

และเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการที่ Miyazaki University ประเทศญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม 2567 - 3 กันยายน 2567 

  • ระดับปริญญาโท นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม
  • ระดับปริญญาเอก นายเตาฟีก หลำสุบ

 ttz1

ttz10

ttz4

ttz6

ttz7

ttz8

ttz9

Page 1 of 20
Go to top