นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 4 นายพีรวิชญ์ เจนพิทยา ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนนักเรียนไทยในโครงการ Huawei Seeds 2022 

 

 

 

 
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คว้ารางวัลชนะเลิศโครงการแข่งขันทางด้านวิชาการ จัดโดยสภาคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยประจำปีการศึกษา 2564 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2565 
 
หัวข้อผลงานวิจัย : Digital Engineering โครงการการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (คนไข้พร้อม)

ทีมผู้พัฒนา

 - นายจักรกฤษ ศรีงาม รหัสนักศึกษา 6410110062

 - นางสาวธนวรรณ แซ่เจียง รหัสนักศึกษา 6410110210

 - นายธรรมาธิป ชิตพงศ์ รหัสนักศึกษา 6410110663

 - อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์เสกสรรค์ สุวรรณมณี

นักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. ได้รับรางวัลชมเชย โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการและผู้สูงอายุ ระดับนิสิต นักศึกษา โครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 (NSC 2022) รอบชิงชนะเลิศ
 
ชื่อโครงงาน PillTrack : ระบบติดตามการรับประทานยาเม็ดสำหรับผู้สูงอายุ

 พัฒนาโดย นายกันตวิชญ์ เจนพิทยา

 อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.เพ็ชรัตน์ สุริยะไชย

 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.

PillTrack เป็นระบบติดตามการรับประทานยาเม็ดสำหรับผู้สูงอายุ เป็นระบบที่พัฒนาเพื่อช่วยแก้ปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดีผู้สูงอายุบางท่านอาจลืมรับประทานยา หรือรับประทานยาผิดชนิดหรือผิดเวลา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ระบบ PillTrack ประกอบด้วยกล่องยาที่มีระบบตรวจจับภาพเม็ดยาด้วยศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์ จากนั้นจะแสดงจำนวนเม็ดยาคงเหลือภายในกล่องยาและข้อมูลการรับประทานยาของผู้ป่วยในแต่ละวันบนหน้าเว็บแอปพลิเคชัน ระบบนี้จึงช่วยให้แพทย์หรือผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถติดตามพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ผู้สูงอายุรับประทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย

การให้คำปรึกษาและติดตามผลการเรียนจากอาจารย์ที่ปรึกษา พบปะกับเพื่อน-รุ่นพี่ เป็นสิ่งสำคัญของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาวิชาฯ ให้ความสำคัญในการดูแลนักศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ อย่างสม่ำเสมอ
แม้ในสถานการณ์ การแพร่ระบาด covid-19 ระยะทางไม่ใช่อุปสรรค การปรับเปลียนรูปแบบพบปะแบบออนไลน์ เป็นช่องทางหนึ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย เพื่อให้ความตั้งใจที่จะดูแลและรับฟังนักศึกษา ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติโดยเร็ววัน
 
เสวนาพิเศษ Cloud Enablement Series: EP3
"ฺBest Getting Your Hands Dirty on Cloud Platform"
วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 เวลา 8.00-9.00 น.
ขอเชิญร่วมรับฟังบรรยายพิเศษ 55 ปี วิศวฯ ม.อ. รูปแบบ ออนไลน์ ฟรี โดย คุณนัลซัล หลีหาด ซึ่งเป็นศิษย์เก่าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัจจุบัน ทำงานอยู่ในตำแหน่ง Solution Cloud Architect บริษัท Alibaba Intelligence, Thailand เสวนาความรู้เทคโนโลยี แนวโน้มในอนาคต และแบ่งปันประสบการณ์ แก่นักศึกษารุ่นน้อง และผู้สนใจทั่วไป
 
 

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ส่งชุดปฏิบัติการฮาร์ดแวร์ให้นักศึกษาถึงบ้าน ภาคการศึกษาที่ 2/2564

“ฝึกปฏิบัติ หัดทดลอง ส่งของถึงบ้าน ต้านภัยโควิด”

วิศวะคอมฯ มอ. ส่งชุดทดลองให้นักศึกษาเรียนถึงบ้าน...
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ส่งชุดปฏิบัติการฮาร์ดแวร์ให้นักศึกษาถึงบ้าน อย่างต่อเนื่อง เป็นรอบที่ 2 ตามแนวคิด “ฝึกปฏิบัติ หัดทดลอง ส่งของถึงบ้าน ต้านภัยโควิด” โดยสาขาวิชาฯ ได้มีการออกแบบ คิดค้น และผลิตชุดปฏิบัติการด้านฮาร์ดแวร์ ด้วยเทคโนโลยีใหม่ให้มีขนาดเล็ก และรองรับการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาตามบริบทของหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 91 ชุด
วิชา 240-204 COMPUTER ENGINEERING HARDWARE LABORATORY II
รองรับการเรียนรู้ในหัวข้อ DC Power Supply, LCD Display, Flip-Flop, Counter, Op-Amp, Dot Matrix Display, Ultrasonic & PIR sensors, Temperature & Hall effect sensors, DC Motor และ Stepping Motor
2. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 63 ชุด
วิชา 240-302 ADVANCED COMPUTER ENGINEERING LABORATORY II
รองรับการเรียนรู้ในหัวข้อ Arduino & LCD display, RTOS for Arduino, Board Communication และ Multi-Threads/Tasks
3. นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ จำนวน 27 ชุด
วิชา 241-102 BASIC DIGITAL LOGIC, ELECTRONICS, AND MICROCONTROLLERS
รองรับการเรียนรู้ในหัวข้อ Digital Logic Gates, Combinational Circuits, Sequential Circuits, Digital Logic Design using TTL ICs, Digital Logic Design using HDLs, DC Power Supply, SP32 Programming, LCD display and 7-Segments, Sound Module and Analog Interfacing, Ultrasonic, Temperature & Humid sensors, I2C & SPI Communications, Client-Server & Wi-Fi communication by ESP32, Internet of Thing & Cloud IoT และ MQTT Cloud
รวมจำนวนทั้งสิ้น 181 ชุด ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ปฏิบัติการด้านฮาร์ดแวร์จากบ้านได้ สนับสนุนให้การเรียนการสอนแบบออนไลน์จากบ้านในยุคโรคระบาดโควิด 19 ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
Page 15 of 22
Go to top