นายกริสนันต์ อามะ รหัสนักศึกษา 6310110011 นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้รับรางวัลรองดีเด่นอันดับ 1 ประเภทนักศึกษา CWIE ที่มีโครงงาน/ผลการปฏิบัติงานด้านนวัตกรรมดีเด่นระดับชาติประจำปี พ.ศ. 2568 จากกระทรวงอุดมศึกษา วิทนาศ่สตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย

ชื่อโครงงาน: 3D Creator for the Blind

สถานประกอบการออกปฏิบัติงาน: บริษัท พีเอสยูดอลพินส์ จำกัด

กระทรวงอุดมศึกษา วิทนาศ่สตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสมาคมสหกิจศึกษาไทยและเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (เครือข่าย CWIE) ภาคเหนือตอนบน เป็นเจ้าภาพจัดงานวันสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน (CWIE Day) ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2568 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ณ โรงแรมเชียงใหม่แมริออท จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนแนวคิด การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและยกย่องเชิดชูผลงานต้นแบบจากสถาบันต่าง ๆ ที่มีบทบาทโดดเด่นในการขับเคลื่อน CWIE สู่ความสำเร็จระดับชาติ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "CWIE for Empowering People in the AI Era : CWIE เสริมพลังคนรุ่นใหม่ในยุค AI ก้าวไกลสู่อนาคต"

 

ผศ.ดร.วัชรินทร์ แก้วอภิชัย เข้าร่วมรายการแลบ้านแลเมือง ประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2568 เรื่อง โครงการสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกไฟฟ้าในภาคการขนส่งและสิ่งแวดล้อมในเขตภาคใต้
โดยมีคณะวิทยากรผู้ให้สัมภาษณ์คือ
1. ผศ.สาวิตร์ ตัณฑนุช ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. ผศ.ดร.วัชรินทร์ แก้วอภิชัย รองผู้อำนวยการศูนย์พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า และ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3. คุณจรัสชัย เจริญพานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยเจริญรัตน์ 2024 จำกัด

ลิงค์วิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=sVbxKOP6kbI

นอกจากนี้ ผศ.ดร.วัชรินทร์ แก้วอภิชัย เข้าร่วมรายการ สถานีวิทยุ ม.อ.หาดใหญ่ - PSU Broadcast เครือข่ายสายตรงวิทยุสถาบัน
ในวันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2568 ช่วงที่ 3 | สนทนาสถาบัน
ประเด็น : ความร่วมมือการนวัตกรรมยานยนต์ และ โครงการสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกไฟฟ้าในภาคการขนส่งและสิ่งแวดล้อมในเขตภาคใต้
วิทยากร :
1. ผศ.ดร. วชรินทร์ แก้วอภิชัย รอง ผอ. ศูนย์พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ชัย อยู่แก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าศูนย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมยานยนต์
3. ดร.ต้าย บัณฑิศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 
ลิงค์วิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=XcROYczhvOw
 
วิทยุมอ

นางสาวพิชาภัทร แซ่หลี รหัสนักศึกษา 6510110315 นักศึกษาชั้นปีที่  4 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับทุนการศึกษา Canada-ASEAN Scholarships and Educational Exchanges for Development (SEED) เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยระยะสั้น ณ Brock University ประเทศแคนาดา ตั้งแต่เดือนกันยายน - ธันวาคม 2568

 

 

ทีม Nameless จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ผ่านเข้าสู่รอบ Showcase ของงานประกวดแข่งขัน Thailand Game Talent Showcase 2025 เป็น 1 ใน 20 ทีม ซึ่งประกอบไปด้วย ระดับมัธยมศึกษา 3 ทีม และ ระดับอุดมศึกษา 17 ทีม ที่ได้รับคัดเลือกจากจำนวนทีมที่สมัครทั้งหมดเกือบ 100 ทีมจากทั่วประเทศ 

โครงการ Thailand Game Talent Showcase 2025  จัดโดย สมาคมอุตสาหกรรมซอฟ์ตแวร์เกมไทย (www.tga.in.th

ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนการแสดงผลงานจริง ในงาน Gamescom Asia x Thailand Gameshow ระหว่างวันที่ 16–19 ตุลาคม 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

สมาชิกทีม  Nameless 

1. นายภาสวุฒิ ดวงแก้ว หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

2. นายธนภัทร ปานมาส หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

3. นายเกียรติศักดิ์ แซ่อิ๋ว หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ผศ.ดร.กฤษณ์วรา รัตนโอภาส

ตัวอย่างเกม

n1 n2

n3 n4

 n6 n7

n8 n9

ดู Walk-through Video ของผลงานของทีมได้ที่ Nameless

 

ทีม Ultimate PUPA x AI  นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา เข้าร่วมงานอบรมเชิงปฏิบัติการ และคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จากกิจกรรม AI Hackathon: AI Workflow Automation for Tourism Business ในงาน AI for Next Gen - พลิกโฉมท่องเที่ยวยุคใหม่ด้วย AI  ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท  

สมาชิกทีม Ultimate PUPA x AI 
  • นายเจษฎา ธาวุฒิสกุล รหัสนักศึกษา  6610110050 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
  • นายชวินธร ชื่นชม รหัสนักศึกษา  6610110724 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
  • นายปรเมษ แก้วอุบล รหัสนักศึกษา  6610110554 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 
  • นายวิลดาน ผิดไรงาม รหัสนักศึกษา 6610110279 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 

กิจกรรมในงาน

• Workshop: AI Workflow Automation สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว 
• Skill Lab: Tourism AI Toolbox เจาะเครื่องมือ AI ที่ใช้งานได้จริง
• Hackathon & Pitch Showcase เวทีโชว์ไอเดียต้นแบบนวัตกรรมจากเยาวชนและนักพัฒนา
 
Hackathon Competition 

เป้าหมาย:

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้าง Web site ที่สามารถใช้ประโยชน์ใน “ธุรกิจการท่องเที่ยว” ด้านใดก็ได้ โดยใช้ platform ที่สามารถ Prompt โดยใช้ภาษาธรรมชาติ เช่น  

ข้อกำหนด:

  • website ที่สร้างขึ้น จะต้องมีการเชื่อมต่อกับ ระบบ Workflow automation (Make.com) ไม่อนุญาตให้ใช้ n8n
  • การเชื่อมโยง Module ใน  Make.com จะเชื่อมโยง กี่ module ก็ได้
  • ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อ website, การใช้ module ใน  Make.com จะต้องเป็น Free module หรือ Free tier เท่านั้น
    • แม้ว่า บาง Service จะต้องจ่ายเงิน แต่หากมี Free Tier ให้ใช้ (ใช้ฟรี) อนุญาตให้ใช้งานได้ (โดยไม่ต้องจ่ายเงิน) เช่น DumplingAI.com

เกณฑ์การตัดสิน:

  • สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 30%
  • ความซับซ้อนในการพัฒนา 20%
  • ความสวยงามและใช้งานง่าย 20%
  • วิธีการนำเสนอและตอบคำถาม 30%
 
-------------
งาน AI for Next Gen - พลิกโฉมท่องเที่ยวยุคใหม่ด้วย AI  จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 24 - 25 พฤษภาคม 2568 ณ Blockchain Technology Center (BTC Space) จังหวัดภูเก็ต โดยมีคุณศุภชัย ใจสมุทร ช่วยรัฐมนตรีประจํากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมผนึกความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ร่วมขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยี AI ในภาคการท่องเที่ยวไทยอย่างเป็นรูปธรรม
งานนี้จัดขึ้นโดยกระทรวง อว. ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และพันธมิตรเครือข่ายทั่วประเทศ มีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน จากหลากหลายวงการ ทั้งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว นักพัฒนาเทคโนโลยี นักศึกษา เยาวชน และนักลงทุน หนุนโดยนโยบาย “อว. for AI” ท่านศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวถึงนโยบาย “อว. for AI” ที่มีเป้าหมายเพื่อให้คนไทย “สร้าง AI ได้ และใช้ AI เป็น” ผ่าน 3 เสาหลักสำคัญ คือ:
• AI for Education – ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา
• AI Workforce Development – ผลิตกำลังคนตรงความต้องการของตลาด
• AI Innovation – สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ-สังคม
โดยมีเป้าหมายพัฒนาบุคลากรด้าน AI กว่า 30,000 คนภายใน 3 ปี เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหลักของประเทศ อาทิ การท่องเที่ยว
“เทคโนโลยี AI จะเข้ามาเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย การบริการที่แม่นยำ และการเชื่อมโยงแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้นักท่องเที่ยว”
 
 
ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล ร่วมเป็นวิทยากรในงาน AWS ISV Community Day ณ อาคาร  Singha Complex  ห้วยขวาง กรุงเทพฯ ในวันที่ 16 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 9.00-12.00 น. 
 
ในงานนี้ ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ได้แนะนำ GenAI, multimodal model และ Agentic AI  และผลักดันการสร้างเครือข่าย ISV Community สำหรับอุตสาหกรรม AI ในประเทศไทย ร่วมกับ AWS  และวิทยากร ดร.วินน์ วรวุฒิคุณชัย ซึ่งเป็น Chief Executive Officer (CEO) จาก  iBOTNOI และ กรรมการสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT)
 
AWS ISV Community  คือ เครือข่ายผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (Independent Software Vendor: ISV) ที่ให้บริการบนระบบคลาวด์ของ AWS
 

ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (Independent Software Vendor: ISV) คือองค์กรที่สร้างและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่เป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการพื้นฐาน โซลูชันซอฟต์แวร์โดยทั่วไปจะแก้ไขปัญหาเฉพาะของลูกค้า เช่น การสร้างและจัดการข้อมูลการขายหรือทางการเงิน นอกจากนี้ ยังอาจเป็นซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการจัดเก็บข้อมูล ความปลอดภัย หรือการรับรองความถูกต้อง ผู้จำหน่ายรับประกันความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์กับแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงฐานลูกค้าที่กว้างขวาง 

ISV ขายซอฟต์แวร์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตถาวร ข้อตกลงระยะเวลา หรือ Software as a Service (SaaS) ซอฟต์แวร์ได้รับอนุญาตให้แก่ลูกค้า แต่สิทธิ์ความเป็นเจ้าของยังคงเป็นของ ISV  ซอฟต์แวร์มีความทั่วไปเพียงพอที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ได้ในโดเมน อุตสาหกรรม และแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ ISV ได้แก่ โซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ ระบบการจองโซลูชันการรวมข้อมูล และอื่นๆ

S 1744989 S 1744990

S 1745003 0 

S 1745005 0 S 1745004 0

 

 
Page 1 of 28
Go to top