สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 13 มีนาคม 2566 เวลา 13.00- 15.40 น. โดยมีกิจกรรมดังนี้
1. ปัจฉิมนิเทศโดยคณาจารย์สาขาวิชา
2. มอบรางวัลโครงงานยอดนิยม
3. คุณโกสินทร์ คุณโกสินทร์ พัตรานนท์ วิศวกรอาวุโส (Senior Engineer) จาก Technical Training Group, Software Development Department, Toyota Tsusho Nexty Electronics (Thailand) Co. Ltd.แนะนำและรับสมัครงานพร้อมทั้งให้ข้อคิดในการทำงานและการใช้ชีวิตหลังจบการศึกษา
4. คุณอลิซ อารียคุณ SAP Senior Architect, SAP Denmark ศิษย์เก่า สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แนะนำเรื่องการทำงานในยุโรป
การสอบนำเสนอโครงงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา 2565 ในรูปแบบนิทรรศการ ผ่านการนำเสนอชิ้นงาน และ/หรือ โปสเตอร์วิชาการ ของนักศึกษาผู้ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 240-402 Computer Engineering Project II ภาคการศึกษาที่ 2/2565 โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการสอบรับฟังการนำเสนอเพื่อวัดผลในรายวิชา
รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมทุกท่าน (อาจารย์ / นักศึกษาทุกระดับ ทุกชั้นปี / ผู้สนใจทั่วไป) สามารถเลือกโครงงานที่ชอบผ่านการโหวตในกิจกรรมได้ด้วย
สถานที่จัดงาน สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่ 9 มีนาคม 2566 9.00-12.00 น.
ผศ.ดร.ธเนศ เคารพาพงศ์และดร.รัฐชัย วงศ์ธนวิจิต อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เดินทางไปสาธิตผลงานวิจัย การพัฒนาระบบสื่อสารด้วยระบบวิทยุด้วยซอฟต์แวร์ (Software Defined Radio: SDR) ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และที่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (GISTDA) ในโครงการจ้างที่ปรึกษาพัฒนาต้นแบบเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของประเทศไทยในการรองรับการเป็นห้วงอวกาศแบบบูรณาการ ในระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ที่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จังหวัดชลบุรี
คุณพิพัฒน์ พิพิธพัฒนพงศ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากรและคณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการ ในรายวิชา 30204-8503 โครงงาน 2 ระดับชั้นปวส. 2 สาขางานธุรกิจดิจิทัล ให้กับแผนกวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยการอาชีพหลวงประธานราฎร์นิกร ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.00-16.00 น.
ดร. อนันท์ ชกสุริวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขัน 12th PSU.WIT Technology Competition ประจำปีการศึกษา 2565 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 โรงเรียนมอ.วิทยานุสรณ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13 -17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้งานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมและบูรณาการองค์ความรู้เข้ากับพหุวิทยาการ เน้นให้นักเรียนมีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในด้านวิทยาการคำนวณ การออกแบบและเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทักษะในการแก้ปัญหา ความกล้าแสดงอก ตลอดจนการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพส๔้ศตวรรษแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร. ธนาธิป ลิ่มนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทีมวิจัย เดินทางไปทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย Universitas Islam Negeri Sultan Syarif Kasim Riau (UNI SUSKA RIAU) ที่จังหวัด Riau ประเทศ อินโดนีเซีย ในระหว่างวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2566 โดยได้รับการสนับสนุนทุนจากทุุน Fundamental Fund ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีพ.ศ. 2565-2566
ทีมวิจัย ประกอบด้วย ผศ.ดร. ระชา เดชชาญชัยวงศ์ หัวหน้าโครงการ ศ.ดร. พีระพงศ์ ฑีฆสกุล และดร. ธนาธิป ลิ่มนา นักวิจัย และผู้ช่วยวิจัย เริ่มต้นด้วยการร่วมพิธีลงนาม MOA ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Faculty of Science and Technology, UIN SUSKA RIAU หลังจากนั้น จึงเยี่ยม Lab ของทีมวิจัยประเทศอินโดนีเซีย และจัดอบรมการใช้งานเครื่องมือในการวิจัยที่ติดตั้งในประเทศอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ ดร. ธนาธิปยังได้ตรวจเช็คอุปกรณ์ low-cost sensor ที่พัฒนาขึ้นสำหรับติดตามฝุ่นที่ประเทศอินโดนีเซียด้วย เพื่อเตรียมรับมือ Haze in Lower SEA ในปี พ.ศ. 2566 หรือ ค.ศ. 2023 นี้
ทีมวิจัยได้นำองค์ความรู้ที่ทำงานวิจัยร่วมกันตลอด 1 ปีกว่าๆ หารือกับทางทีมวิจัยของอินโดนีเซีย และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของมลพิษทางอากาศ นอกจาก PM 2.5 แล้ว ยังมี PM 0.1 ด้วยที่มีผลต่อสุขภาพมากกว่า และทีมวิจัยยังมีแนวคิดที่จะช่วยให้ทีมวิจัยฝั่งอินโดสามารถพัฒนา low cost sensor ขึ้นมาใช้เองได้อีกด้วย นับเป็นอีกก้าวสำหรับ air pollution monitoring ในภูมิภาคนี้ และเป็นโครงการสำหรับการเฝ้าระวัง regional transboundary haze ร่วมกัน โดยเริ่มต้นการเสริมกำลังด้านวิชาการให้กับชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืนร่วมกัน เพื่อให้สามารถช่วยกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศระดับอาเซียนได้ในอนาคต
ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่บริเวณ burned peatland area และพบว่าสาเหตุและสถานการณ์ไม่แตกต่างจากประเทศไทยมากนัก โดยสาเหตุเกิดจากมนุษย์เป็นหลัก และเสริมด้วยความรุนแรงของภัยแล้ง
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้ร่วมพิธีลงนาม MOU ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ Universitas of Raiu (UNRI) เพิ่มขึ้นอีก 1 ฉบับ