สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดสัมมนาพิเศษ เรื่อง Introduction to Quantum Networking ในโครงการพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้องประชุมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดย วิทยากร คือ นายร่มธรรม ศรีพจนารถ นักศึกษาระดับปริญญาเอก นักเรียนทุนรัฐบาล จาก  Western Sydney University  ประเทศออสเตรเลีย

422664606 7494077590603464 213664302429158410 n

422909714 7494077420603481 3590987686668828376 n

422870402 7494077490603474 5100744120898607015 n

422885753 7494077407270149 4595414734523241229 n

422905996 7494077517270138 5124710534374820485 n

 Quantum Networking

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดโครงการ Bar Camp Songkhla ครั้งที่ 8 เพื่อเปิดเวทีให้กับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรและบุคคลภายนอก นักพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมแก้ไขปัญหาทางเทคนิคในด้านต่างๆที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พร้อมรับข้อมูลวิทยาการใหม่ ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567  ตั้งแต่เวลา 8.30-18.30 น. ณ ห้องประชุม  EILA สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ (ตึก  LRC) โดยเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 คน ในการนี้มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธน แซ่ว่อง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

งาน Barcamp จัดโดยทีมงานนักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ของชุมชนนักพัฒนาในภาคใต้
อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทคอมพิวเตอร์หลายบริษัทในภาคใต้และกรุงเทพฯ ดังนี้
  • อิมพอร์ต สตาร์ จำกัด
  • บริษัท เน็กซ์ฮอป จํากัด
  • บริษัท อัลกอริตี้ จำกัด
  • บริษัท ที.ที. ซอฟแวร์ โซลูชั่น จำกัด
  • บริษัท บนเมฆ จำกัด
  • บริษัท เปาคลาวด์ จำกัด
  • บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็กซ์ตรีมิสต์ จำกัด
  • บริษัท ไบต์อาร์ค จำกัด
  • บริษัท ซคูลเมท เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
  • บริษัท โลเร็มบอร์ด จำกัด
  • บริษัท เทเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด
  • สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ (EILA) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ครั้งหน้า Barcamp #9 จะจัดในวันที่ 25 ม.ค. 2025 (เสาร์สุดท้ายของเดือนมกราคม พ.ศ. 2568) #BarCampSK
DSC 1343
DSC 1294
DSC 1287
DSC 1273
DSC 1222 2
DSC 1275
DSC 1250
DSC 1215
DSC 1190
DSC 1172
DSC 1078
82637276 10217251127258452 18451046359629824 n
423006259 10226305006359771 5101419426132095219 n

423312750 773344854822693 6377584133798290450 n

 

410330801 744602571030255 921509249291648561 n

 

421049747 768980241925821 4602476766795872369 n

421115497 769641935192985 7108832908236340765 n

422959167 773270571496788 7603790807685893687 n

422210190 771561238334388 7791694255195138322 n

422221545 771555708334941 5016499452762730957 n

 

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 3 คน พร้อมอาจารย์ผู้ควบคุมทีม ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติด้วย Robomaster ประจำปีพ.ศ. 2567 หรือ ROBOMASTER 2024 จัดโดย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ร่วมกับ บริษัท GAMMACO Thailand ณ หอประชุมภักดีดำรงค์ฤทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม พ.ศ. 2567

รายชื่่อผู้เข้าร่วมแข่งขัน

1. นายภูมินทร์ สาทิพย์จันทร์ รหัสนักศึกษา 6510110363

2. นายสิทธา สหธรรม รหัสนักศึกษา 6510110488

3. นายปวณนนท์ พานิช รหัสนักศึกษา 6510110269

ชื่อทีม TheLastOfCoding

อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ 

วัตถุประสงค์ของงาน

ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อความต้องการ เทคโนโลยีของหุ่นยนต์ AGV ได้ถูกนำมาใช้จัดการคลังสินค้าให้การจัดการมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้ ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีกิจกรรมที่มีรูปแบบของการบูรณาการศาสตร์ทางด้านต่างๆ เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ เข้าด้วยกันทั้งในการเรียนการสอนภายในและนอกห้องเรียน รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือประยุกต์เข้ากับการเรียนการศึกษา 

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

• รุ่นมัธยมปลาย และอาชีวศึกษา นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมปลาย หรือ ระดับอาชีวศึกษา(ปวช) จำนวน 2-3 คน ต่อ 1 ทีม

• รุ่นอุดมศึกษา นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 2-3 คน ต่อ 1 ทีม (ไม่อนุญาตให้ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมในการแข่งขัน)

• ครู อาจารย์ ผู้ควบคุมทีม 1 ท่าน หมายเหตุใน 1 โรงเรียน/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย สามารถสมัครได้ไม่เกิน 2 ทีม

รูปแบบการแข่งขัน

วันแรก อบรมการเขียนโปรแกรมให้ผู้เข้าแข่งทุกทีมก่อน

วันที่สอง ประกาศกติกาและให้ทุกทีมทำการซ้อมกับสนามแข่งขันจริงก่อนการแข่งขัน

วันที่สาม วันแข่งขัน (ทุกทีมจะมีเวลาซ้อมก่อนเริ่มการแข่งขันจริง)

ทีมต้องเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Robomaster เพื่อเคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ และต้องทำคะแนน ให้ได้มากที่สุดตามกติกาที่ผู้จัดกำหนด

ลิงค์วิดีโอบรรยายการงาน ที่นี่

839085

 

 

ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567 บริษัทอินโนเวทีฟเอ็กซ์ตรีมิสต์และบริษัทไบต์อาร์ค โดยคุณคเชนทร์ หวังธรรมมั่ง ผู้บริหารบริษัท มอบเซิร์ฟเวอร์ จำนวน 5 เครื่องพร้อมฮาร์ดดิสก์และจอภาพให้แก่สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นวัสดุฝึกสำหรับนักศึกษาในปฏิบัติการต่าง ๆ 

f05ebaf9 bc1a 4ca2 aaa3 8eaa5f3e2d3e

83c3f4b6 ffb0 4504 a621 bc7b45561d25

9d4c412c 09d7 4302 b44b b324cf1877d9

ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลดีเลิศ ในด้าน Smart Governance ในโครงการประกวดระบบบริการเมืองอัจฉริยะดีเด่น ประจำปี 2566 หรือ SMART CITY SOLUTIONS Awards 2023 ซึ่งจัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)  จากผลงาน ซอฟต์แวร์บริหารงานค่าธรรมเนียมอัจฉริยะ ของเทศบาลนครภูเก็ต ร่วมกับ บริษัท ร่วมพัฒนาเมือง จำกัด และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดผลงานที่ได้จากทุนวิจัยจาก บพข. (หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) 

โครงการประกวดระบบบริการเมืองอัจฉริยะดีเด่น ประจำปี 2566 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งระบบนั้น ๆ ต้องดำเนินการมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน   

คณะทำงาน

  • ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์
  • ผศ.ดร. ชนิษฎา ชูสุข จากคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์
  • คุณปฐมพงศ์ วรเจริญ จากบริษัทร่วมพัฒนาเมือง จำกัด
  • นายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทีม CyberSilk สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน  Huawei ICT Competition 2023-2024

การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 Tracks คือ Network, Cloud, และ Computing406680388 n

ทีมละ 3 คน ผู้ชนะจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และระดับโลก

โดยมีทีมที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 120 ทีม และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เป็นการแข่งขันรอบคัดเลือก และทีม CyberSilk ผ่านเข้ารอบการแข่งขันเป็นอันดับ 5 จากทั้งหมด 40 กว่าทีม

สมาชิกในทีม:

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3

6410110062 นายจักรกฤษ ศรีงาม

6410110082 นางสาว เจนนรินทร์ เพียรจิตต์

6410110242 นายนพดล จันทรางกูร

Track  ที่เข้าร่วม: Network

1000010345

รอบระดับประเทศ  จัดการแข่งขันที่ Bootcamp@Bangkok ในวันที่ 20 ธันวาคม 2566

Link: https://e.huawei.com/en/talent/ict-academy/#/ict-contest?compId=85131993

ผลการแข่งขันรอบระดับประเทศ ได้อันดับที่ 4

huawei ict 2023

 

huaweiCFC

Page 8 of 23
Go to top