นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทีม CyberSilk สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน  Huawei ICT Competition 2023-2024

การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 Tracks คือ Network, Cloud, และ Computing406680388 n

ทีมละ 3 คน ผู้ชนะจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และระดับโลก

โดยมีทีมที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 120 ทีม และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เป็นการแข่งขันรอบคัดเลือก และทีม CyberSilk ผ่านเข้ารอบการแข่งขันเป็นอันดับ 5 จากทั้งหมด 40 กว่าทีม

สมาชิกในทีม:

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3

6410110062 นายจักรกฤษ ศรีงาม

6410110082 นางสาว เจนนรินทร์ เพียรจิตต์

6410110242 นายนพดล จันทรางกูร

Track  ที่เข้าร่วม: Network

1000010345

รอบระดับประเทศ  จัดการแข่งขันที่ Bootcamp@Bangkok ในวันที่ 20 ธันวาคม 2566

Link: https://e.huawei.com/en/talent/ict-academy/#/ict-contest?compId=85131993

ผลการแข่งขันรอบระดับประเทศ ได้อันดับที่ 4

huawei ict 2023

 

huaweiCFC

รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะได้รับประกาศนียบัตรรับรองสมรรถนะอาจารย์ด้านการเรียนการสอนตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ Thailand-PSF ระดับที่ 3 Senior Fellowship จากสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (สมาคม ควอท) หรือ Professional and Organizational Development Network of Thailand Higher Education ในโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “วิทยากรแกนนำด้านการจัดการเรียนการสอนตามกรอบ UK PSF”

ความเป็นมา

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีนโยบายในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ระดับอุดมศึกษาทั้งในด้านการเรียนการสอน และการวิจัย โดยให้มีการจัดตั้งเป็นเครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา และประสานความร่วมมือกับ Dr. L. Dee Fink, Director, Instructional Development Program, University of Oklahoma และ ประธาน Professional and Organizational Development Network in Higher Education (Pod Network) ซึ่งเข้าพบรักษาการเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2547 เพื่อหารือและนำเสนอกิจกรรมของเครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา (Pod Network) ของสหรัฐอเมริกา อันเป็นเครือข่ายของความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาต่างๆประมาณ 1,200 สถาบัน มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาอาจารย์และองค์กร เพื่อปรับปรุงเทคนิคในการเรียนการสอน และกระตุ้นอาจารย์ผู้สอน ให้ปรับปรุงพัฒนารูปแบบและวิธีการสอนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยี เป้าหมาย คือ ให้นักศึกษามีพัฒนาการเรียนรู้ได้ดีขึ้น

เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาของไทย มีผลทำให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงไปสู่เส้นทางการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพในทุกระดับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพ ทันสมัย เหมาะสมกับยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาประเทศ  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนา และปรับปรุงการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ผลักดันให้มีสมาคมเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย  (Professional and Organizational Development Network in Higher Education) เรียกโดยย่อว่า ควอท : ThaiPOD Network โดยมีสถาบันอุดมศึกษา 5 แห่งเป็นผู้ก่อตั้ง ดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังกล่าว

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะทรัพยากรธรรมชาติ จัดโครงการอบรมระยะสั้นทางด้านเกษตรอัจฉริยะ (Winter School on Smart Agriculture) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับ Czech University of Life Sciences Prague (CZU) สาธารณรัฐเช็ก ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม 2566 - 17 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากสาธารณรัฐเช็ก

ของ Faculty of Engineering, CZU และนักศึกษาของคณะทรัพยากรธรรมชาติและคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้เปิดการอบรม และ Campus tour ไปแล้วเมื่อวันที่ วันที่ 30 ต.ค. 66 ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ และวันที่ 2–5 พ.ย. 66 นักศึกษาได้ไปศึกษาดูงานและเก็บข้อมูลทางการเกษตร เพื่อนำมาวิเคราะห์และนำเสนอ (pitching) พร้อมทั้งศึกษาวัฒนธรรม ประเพณี และแหล่งท่องเที่ยวของท้องถิ่นที่สำคัญในแต่ละจังหวัด ปิดท้ายด้วยกิจกรรม Pitching ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 17 พ.ย.66 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมดงยาง 1 

ในส่วนของกิจกรรมนี้ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดอบรมหัวข้อวิทยาการข้อมูลให้กับนักศึกษาในโครงการในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 โดยมีนักศึกษาสาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์เข้าร่วมโครงการจำนวน 2 คน 

หัวข้อบรรยายและปฏิบัติการ ช่วงเช้า Introduction to Artificial Intelligence ช่วงบ่าย Data Visualization and Presentation โดยมีวิทยากรและผู้ช่วยวิทยากรคือ ดร.อนันท์ ชุกสุริวงศ์ ผศ.ดร.เพ็ชรัตน์ สุริยะไชย และรศ.ดร.พิชญา ตัณฑัยย์

นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม

1. นายจตุรวิชญ์ ค่อฉุ้น สาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 3

2. นายจักรภัทร สุวรรณพงศ์  สาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 3

  

 

401508905 846786833906356 6916123614374602760 n

 

สองผลงานด้านปัญญาประดิษฐ์ของ ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติประจำปี 2567

S 575340547

ผลงานที่ 1 เรื่อง “หุ่นจำลองมดลูกอัจฉริยะจากยางธรรมชาติร่วมกับปัญญาประดิษฐ์หรับการทำหัตถการทางนรีเวชเสมือนจริง”

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี สาขาการศึกษา

คณะทำงาน

ผศ.นพ.ชัยณรงค์ โชคสุชาติคณะแพทยศาสตร์

รศ.ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง คณะวิทยาศาสตร์

ดร.อนันท์ ชกสุริวงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

C1

ผลงานที่ 2 เรื่อง “หุ่นจำลองเด็กทารกจากจากยางธรรมชาติพร้อมปัญญาประดิษฐ์ประเมินผลอัจฉริยะสำหรับการฝึกทำ CPR"

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับประกาศเกียรติคุณ สาขาการศึกษา

คณะทำงาน

ดร.อนันท์ ชกสุริวงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

รศ.ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง คณะวิทยาศาสตร์

นางสาวจิรารัตน์ พร้อมมูล

C2

ทีม  ChickenBuzz นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3 จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เข้าร่วมการแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2023 ซึ่งเป็นการแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมุ่งหวังให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และประสบการณ์ เพื่อให้กลายเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเป็นการสร้างแรงงานออกสู่ตลาดแรงงานในอนาคต อีกทั้งเป็นการช่วยเพิ่มความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ให้กับบุคคลทั่วไปมากขึ้น และผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศยังมีสิทธิเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในรายการ Cyber SEA Game 2023

การแข่งขันนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 2,323 คน จาก  831 ทีม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ  Junior, Senior  และ  Open หรือ 

  • ระดับมัธยมศึกษา เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย หรือเทียบเท่า สังกัดโรงเรียนหรือสถาบันในประเทศไทย
  • ระดับอุดมศึกษา เป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า สังกัดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในประเทศไทย อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ลงทะเบียนสมัคร
  • ระดับประชาชนทั่วไป เป็นหน่วยงาน CII หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปสัญชาติไทย

รูปแบบการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 รอบ

รอบที่ 1 รอบคัดเลือก เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์ ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้ 

  • Web Application
  • Digital Forensic
  • Reverse Engineering 
  • Network Security
  • Mobile Security
  • Programming
  • Cryptography

รอบที่ 2 รอบชิงชนะเลิศ เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Attack the virtual World คือผู้เข้าแข่งขันต้องหาคำตอบจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจำลอง ด้วยการโจมตีจากภายนอก และต้องหาคำตอบจากร่องลอยในเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตี

CC

เกณฑ์การคัดเลือก : คัดเลือกจากทีมที่ทำคะแนนได้สูงสุดและส่งคำตอบเร็วที่สุดจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไป
ระดับมัธยมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
ระดับอุดมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม

ระดับประชาชนทั่วไปไม่กำหนดภูมิภาค จำนวน 10 ทีม

สมาชิกในทีม  ChickenBuzz

  1. นายจตุรวิชญ์ ค่อฉุ้น รหัสนักศึกษา 6410110060 สาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 3
  2. นายชนาวัฒน์ ทั้วสุภาพ รหัสนักศึกษา 6410110092 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3
  3. นายนพเก้า ปัญจสุธารส รหัสนักศึกษา 6510110218 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 2

chick2

ทีม  ChickenBuzz ผ่านการคัดเลือก เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566 เป็น 1 ใน 2 ตัวแทนภาคใต้ ระดับ  Senior ไปแข่งขันที่กรุงเทพฯ ซึ่งคัดเลือกจำนวน 10 ทีม จาก 354 ทีมทั่วประเทศ เว็บประกาศผลรอบคัดเลือก 

ในรอบชิงชนะเลิศ วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น. (ระยะเวลาการแข่งขันรวม 7 ชั่วโมง) ทีม ChickenBuzz ได้อันดับ 6 ประเภททีม และอันดับ 5 ประเภทบุคคล (นายชนาวัฒน์ ทั้วสุภาพ) ในระดับ  Senior และได้รับรางวัลชมเชยระดับประเทศ 

Result

C1

C2

C3

C4

C5

นักศึกษาบริษัท AppSynth จัดกิจกรรมเสริมความรู้ให้กับสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ หัวข้อ  "Design Thinking for Digital Products" และ  "How do we handle many transactions daily" ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566    เวลา 13.00-15.00 น.

A1

LINE ALBUM AppSynth Psu 15 09 2566 230920 5

LINE ALBUM AppSynth Psu 15 09 2566 230920 9

LINE ALBUM AppSynth Psu 15 09 2566 230920 3

LINE ALBUM AppSynth Psu 15 09 2566 230920 2

LINE ALBUM AppSynth Psu 15 09 2566 230920 1

Page 8 of 22
Go to top