สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดโครงการ Bar Camp Songkhla ครั้งที่ 8 เพื่อเปิดเวทีให้กับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรและบุคคลภายนอก นักพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมแก้ไขปัญหาทางเทคนิคในด้านต่างๆที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พร้อมรับข้อมูลวิทยาการใหม่ ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567 ตั้งแต่เวลา 8.30-18.30 น. ณ ห้องประชุม EILA สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ (ตึก LRC) โดยเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 คน ในการนี้มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธน แซ่ว่อง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
- อิมพอร์ต สตาร์ จำกัด
- บริษัท เน็กซ์ฮอป จํากัด
- บริษัท อัลกอริตี้ จำกัด
- บริษัท ที.ที. ซอฟแวร์ โซลูชั่น จำกัด
- บริษัท บนเมฆ จำกัด
- บริษัท เปาคลาวด์ จำกัด
- บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็กซ์ตรีมิสต์ จำกัด
- บริษัท ไบต์อาร์ค จำกัด
- บริษัท ซคูลเมท เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
- บริษัท โลเร็มบอร์ด จำกัด
- บริษัท เทเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด
- สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ (EILA) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 3 คน พร้อมอาจารย์ผู้ควบคุมทีม ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติด้วย Robomaster ประจำปีพ.ศ. 2567 หรือ ROBOMASTER 2024 จัดโดย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ร่วมกับ บริษัท GAMMACO Thailand ณ หอประชุมภักดีดำรงค์ฤทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม พ.ศ. 2567
รายชื่่อผู้เข้าร่วมแข่งขัน
1. นายภูมินทร์ สาทิพย์จันทร์ รหัสนักศึกษา 6510110363
2. นายสิทธา สหธรรม รหัสนักศึกษา 6510110488
3. นายปวณนนท์ พานิช รหัสนักศึกษา 6510110269
ชื่อทีม TheLastOfCoding
อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์
วัตถุประสงค์ของงาน
ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อความต้องการ เทคโนโลยีของหุ่นยนต์ AGV ได้ถูกนำมาใช้จัดการคลังสินค้าให้การจัดการมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้ ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีกิจกรรมที่มีรูปแบบของการบูรณาการศาสตร์ทางด้านต่างๆ เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ เข้าด้วยกันทั้งในการเรียนการสอนภายในและนอกห้องเรียน รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือประยุกต์เข้ากับการเรียนการศึกษา
คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
• รุ่นมัธยมปลาย และอาชีวศึกษา นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมปลาย หรือ ระดับอาชีวศึกษา(ปวช) จำนวน 2-3 คน ต่อ 1 ทีม
• รุ่นอุดมศึกษา นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 2-3 คน ต่อ 1 ทีม (ไม่อนุญาตให้ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมในการแข่งขัน)
• ครู อาจารย์ ผู้ควบคุมทีม 1 ท่าน หมายเหตุใน 1 โรงเรียน/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย สามารถสมัครได้ไม่เกิน 2 ทีม
รูปแบบการแข่งขัน
วันแรก อบรมการเขียนโปรแกรมให้ผู้เข้าแข่งทุกทีมก่อน
วันที่สอง ประกาศกติกาและให้ทุกทีมทำการซ้อมกับสนามแข่งขันจริงก่อนการแข่งขัน
วันที่สาม วันแข่งขัน (ทุกทีมจะมีเวลาซ้อมก่อนเริ่มการแข่งขันจริง)
ทีมต้องเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Robomaster เพื่อเคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ และต้องทำคะแนน ให้ได้มากที่สุดตามกติกาที่ผู้จัดกำหนด
ลิงค์วิดีโอบรรยายการงาน ที่นี่
นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทีม CyberSilk สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน Huawei ICT Competition 2023-2024
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 Tracks คือ Network, Cloud, และ Computing
ทีมละ 3 คน ผู้ชนะจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และระดับโลก
โดยมีทีมที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 120 ทีม และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เป็นการแข่งขันรอบคัดเลือก และทีม CyberSilk ผ่านเข้ารอบการแข่งขันเป็นอันดับ 5 จากทั้งหมด 40 กว่าทีม
สมาชิกในทีม:
นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3
6410110062 นายจักรกฤษ ศรีงาม
6410110082 นางสาว เจนนรินทร์ เพียรจิตต์
6410110242 นายนพดล จันทรางกูร
Track ที่เข้าร่วม: Network
รอบระดับประเทศ จัดการแข่งขันที่ Bootcamp@Bangkok ในวันที่ 20 ธันวาคม 2566
Link: https://e.huawei.com/en/talent/ict-academy/#/ict-contest?compId=85131993
ผลการแข่งขันรอบระดับประเทศ ได้อันดับที่ 4
รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะได้รับประกาศนียบัตรรับรองสมรรถนะอาจารย์ด้านการเรียนการสอนตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ Thailand-PSF ระดับที่ 3 Senior Fellowship จากสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (สมาคม ควอท) หรือ Professional and Organizational Development Network of Thailand Higher Education ในโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “วิทยากรแกนนำด้านการจัดการเรียนการสอนตามกรอบ UK PSF”
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีนโยบายในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ระดับอุดมศึกษาทั้งในด้านการเรียนการสอน และการวิจัย โดยให้มีการจัดตั้งเป็นเครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา และประสานความร่วมมือกับ Dr. L. Dee Fink, Director, Instructional Development Program, University of Oklahoma และ ประธาน Professional and Organizational Development Network in Higher Education (Pod Network) ซึ่งเข้าพบรักษาการเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2547 เพื่อหารือและนำเสนอกิจกรรมของเครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา (Pod Network) ของสหรัฐอเมริกา อันเป็นเครือข่ายของความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาต่างๆประมาณ 1,200 สถาบัน มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาอาจารย์และองค์กร เพื่อปรับปรุงเทคนิคในการเรียนการสอน และกระตุ้นอาจารย์ผู้สอน ให้ปรับปรุงพัฒนารูปแบบและวิธีการสอนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยี เป้าหมาย คือ ให้นักศึกษามีพัฒนาการเรียนรู้ได้ดีขึ้น
เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาของไทย มีผลทำให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงไปสู่เส้นทางการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพในทุกระดับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพ ทันสมัย เหมาะสมกับยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนา และปรับปรุงการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ผลักดันให้มีสมาคมเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (Professional and Organizational Development Network in Higher Education) เรียกโดยย่อว่า ควอท : ThaiPOD Network โดยมีสถาบันอุดมศึกษา 5 แห่งเป็นผู้ก่อตั้ง ดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังกล่าว