ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย จัดให้มีการพิจารณาคัดเลือกวิทยานิพนธ์ดีเด่นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจําปีการศึกษา 2566 นายเฒาฟิก เพ็งโอ รหัสนักศึกษา 6210120056 มหาบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญยศ ไชยกาฬ  อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับคัดเลือกรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท รางวัลชมเชย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ประจำปีการศึกษา 2566
วิทยานิพนธ์ชื่อ : การเพิ่มประสิทธิภาพในการหาขอบภาพโดยใช้ชุดคําสั่ง AVX บนสถาปัตยกรรมมัลติคอร์ (Optimization of Edge Detection using AVX Intrinsics on Multi-core Architectures) 
วิทยานิพนธ์ดังกล่าวนําเสนอแนวคิดในการเพิ่มความเร็วของการหาขอบภาพ ส่งผลให้สามารถลดเวลาในการประมวลผลลงและประหยัดพลังงานในการคํานวณได้เพิ่มขึ้น วิธีการเพิ่มความเร็วที่นําเสนอ มี 2 วิธี คือ
  1. การลดจํานวนครั้งของการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ลง โดยการแบ่งกลุ่มของข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะให้ข้อมูลผลลัพธ์ที่ คํานวณเสร็จสิ้นนั้นสามารถถูกนํามาใช้ซํ้าได้โดยมิต้องคํานวณใหม่ในเส้นภาพบรรทัดถัดไป เมื่อจํานวนโอเปอเรชันทาง คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้ลดลง จึงสามารถเพิ่มความเร็วในการ ประมวลผลได้ อีกทั้งยังต้องการพลังงานในการประมวลผลที่ลดลงอีกด้วย
  2. การนําข้อมูลเข่ามาประมวลผลในซีพียูทีละหลาย ๆ ชุดด้วยชุดคําสั่งประมวลผลแบบเวกเตอร์ หรือชุดคําสั่ง AVX ซึ่งช่วยให้การคํานวณเสร็จเร็วขึ้นกว่าการคํานวณทีละข้อมูล
ผลงานจากวิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารวิชาการและงานประชุมวิชาการนานาชาติ ดังนี้
  • เผยแพร่ในวารสารวิชาการ
Peng-o, T. and Chaikan, P., “High performance and energy efficient Sobel edge detection,” Microprocessors and Microsystems, Vol. 87, Article Number 104368, Available online: 27 October 2021
  • เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการ
Peng-o, T. and Chaikan, P., "Optimization of Edge Detection using AVX Intrinsics on Multi-core Architectures", Proceedings of the 2022 International Technical Conference on Circuits/Systems, Computers and Communications (ITC-CSCC), Phuket, Thailand, July 5-8, 2022. DOI: 10.1109/ITC- CSCC55581.2022.9894947
 
503350
w1
503349
C1
C2

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กิจกรรม ม.อ.วิชาการประจำปี 2567 ในวันที่ 8-9 สิงหาคม 2567 ณ ตึกหุ่นยนต์และตึกสิรินธร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โดยภายในงานมีการแข่งขัน ดังนี้ 

1. การแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

จัดโดย อาจารย์ อ.เสกสรรค์ สุวรรณมณี อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คุณวิมล คำจันทร์ และทีมงานนักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 11 คน

มีนักเรียนเข้าร่วม 16 ทีม จาก 12 โรงเรียน จาก 6 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ยะลา สตูล กระบี่ สุราษฎร์ธานี และชุมพร ทีมละ 3 คน รวม 48 คน และคุณครู 12 คน  

การแข่งขัน

ในการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับ มัธยมศึกษา ใช้ภาษา Python และ C/C++ ในการเขียนโปรแกรม ฝึกทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้โจทย์ปัญหาที่ได้รับ ภายในเวลาของการแข่งขัน 2 ชั่วโมง จากโจทย์ปัญหา 6 ข้อ 

กำหนดการ
  • 09.00-09.50 น. ซ้อมและทดสอบระบบแข่งขัน ห้อง COMP1
  • 10.00-12.00 น. แข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (2 ชั่วโมง) ห้อง COMP1
  • 13.00 น. ประกาศผล มอบรางวัล ลานใต้ตึกหุ่นยนต์ 
ภาพการแข่งขัน

 thumbnail p01 psu open week 2567 8 240808 1

thumbnail p02 psu open week 2567 8 240808 8

thumbnail p03 psu open week 2567 8 240808 7

ผลการแข่งขัน

ทีมที่ชนะเลิศ ได้แก่ ทีมจากโรงเรียนพัฒนาวิทยา จ. ยะลา ทีมอันดับสอง ได้แก่ ทีมจากโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จ. ยะลา และทีมอันดับที่สาม ได้แก่ ทีมจากโรงเรียนสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี

ทีมอันดับที่ 1-3 สามารถแก้โจทย์ปัญหาได้ครบทั้ง 6 ข้อ และทีมที่อันดับ 4-5 จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย และ โรงเรียนแสงทองวิทยา จังหวัดสงขลา ทำโจทย์ได้ 5 ข้อ ได้รับรางวัลชมเชย

 thumbnail p05 final Score 2024

สรุปรางวัล

โรงเรียน

ทีม

สมาชิก

อันดับ/รางวัล

โรงเรียนพัฒนาวิทยา  
จ. ยะลา  

ggwp.cpp

นายอุสมาน ยูโซะ 

นายอัฟฮัม ขวัญคาวิน 

นายอัชรอฟ วงศ์ปราณี

รางวัลที่ 1 (3,000.-)

โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง  
จ. ยะลา

Johan Libert

นายเดชาธร จิตนาธรรม

นายณัฐวรรธน์ วรรัตนานุรักษ์

นายฟาอิฟ เจ๊ะมาด

รางวัลที่ 2 (2,000.-)

โรงเรียนสุราษฎร์ธานี

จ. สุราษฎร์ธานี 

PLAN

นายศุภณัฐ ธนาพล 

นางสาวญาณิศา ขวัญใจสกุล 

นางสาวอรวรา สาริพัฒน์

รางวัลที่ 3 (1,000.-)

โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 
จ. สงขลา

The mimic

นางสาวอาภาพิชญ์ พรหมหิตาทร

นายปิยังกูร ล้อประเสริฐกุล

นางสาวณัฐนันท์ วรรละออ

4. รางวัลชมเชย (500.-)

โรงเรียนแสงทองวิทยา  
จ.สงขลา

i_paranz_sme

นายบัณฑิตย์ ศิริพิทยา

นายคณพศ เพชรมณี

นายอภิวิชญ์ ส่งศรี

5. รางวัลชมเชย (500.-)

2. การแข่งขันพัฒนาเกม CoE@PSU Game Jam

จัดโดย ผศ.ดร.กฤษณ์วรา รัตนโอภาส อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และทีมงานนักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ร่วมกับคุณสิทธิชัย เหล่าวีระสกุล จาก  Hamster Hub ศิษย์เก่า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์  

มีทีมนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทั้งแบบ  onsite  และ  online  ผ่าน  Discord รวมทั้งสิ้น 15 ทีม จากทั่วประเทศ จังหวัดที่มีนักเรียนเข้าร่วมได้แก่ กรุงเทพ ปทุมธานี นครปฐม นครสวรรค์ นครนายก สงขลา สตูล พัทลุง สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง พิษณุโลก สระแก้ว ยโสธร

รายนามกรรมการผู้ตัดสิน: คุณสิทธิชัย เหล่าวีระสกุล  ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ รศ.ดร.พิชญา ตัณฑัยย์

กำหนดการ
  • 09.00-12.00 ทีมต่าง ๆ นำเสนอเกมที่พัฒนาขึ้น ห้องประชุมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • 13.00 น. ประกาศผล แบบออนไลน์ 
ภาพการแข่งขัน

q4

 q1

q3

ผลการแข่งขัน

 GameJamResults8 8 2024

รายนามผู้ได้รับรางวัล

  • รางวัลชนะเลิศ ทีม Tea party จาก โรงเรียนเเสงทองวิทยา
    • นาย มีเสพสุข เเก้วรัตนา  
    • นาย ปัณณวิชย์ จันทร์จักโข 
    • นาย กุลธวัช บุณยพิพัฒน์ 
    • นาย ธีสวัฒน์ สุขคณา 
    • นาย ศิราเมษฐ์ สิทธรจิรานันท์ 
    • นาย ธนทัต พฤกษ์รัตนนภา 
    • นาย ทักษณัฎฐ์ หงส์อัครพันธุ์ 
    • นาย ชิต​ณุ​พงศ์​ ศุภร​ทวี​ 
    • นาย จิรพนธ์ เพ็ชรสุวรรณ์  
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม ปิกาจูใส่ไข่ดาว จาก โรงเรียนสะเดา "ขรรค์ชัยกัมพลานนท์อนุสรณ์"
    • นาย ธีรยุทธ ศิริ
    • นาย อภิชาติ จะหย่อ
    • นางสาว ธิดารัตน์ จันทร์แก้ว
    • นางสาว รินรดี โต๊ะกา
    • เด็กหญิง นิจิตตา พิพัฒน์นิธิกุลชัยเด็กหญิง ยูนิกซ์ ปาลาเร่  
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม ปลาหมึกเป่าปี่ขี่แซกโซโฟน
    •  นางสาว ปิยพิชญ์ พุ่มทอง
  •  รางวัลชมเชย ทีม BloxJammer
    • เด็กชาย จิณณ์ ยศสุนทร  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
    • เด็กชาย วีรากร โพนทัน โรงเรียนบ้านหนองเมืองกลาง
    • เด็กชาย ภัทรชนน เชิบรัมย์  โรงเรียนบ้านเขาพรมสุวรรณ
    • เด็กชาย ภูวดล ปันชัย  โรงเรียนสายอักษร
    • เด็กชาย กิตติศักดิ์ ศรีสาตร์  โรงเรียนบางกลางท่าวพิทยาคม
  • ชมเชย ทีม Lychee
    • นาย ธนวัต วงศ์วาสน์ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
    • นาย วัชชิรพงษ์ ธนโชติคณาทิวัตถ์ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศรังสิต
    • นาย ณัฐพัชร์ ปิยกาญจน์ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)
    • นาย ชนกันต์ หล่อสุวรรณศิริ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • ชมเชย ทีม  TheSimp 
    • นาย ภัทรนันท์ เศรษฐภัดดี โรงเรียนจิตรลดา

3. การแข่งขันพัฒนาเกม CoE@PSU Capture The Flag (CTF)

จัดโดย ผศ.ดร.กฤษณ์วรา รัตนโอภาส อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และทีมงานนักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 

การแข่งขัน Capture The Flag (CTF)  เป็นการแข่งขันด้านความปลอดภัยเชิงข้อมูลที่มีกิจกรรมท้าทายให้แก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การค้นหาข้อมูลจากเว็บ การขโมยข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อหาชิ้นส่วนข้อมูลจากเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์

ลักษณะการแข่งขันของ Capture The Flag (CTF) คือ ค้นหาคำตอบหรือธง (Flag) ที่ซ่อนอยู่ในโจทย์ต่าง ๆ ทั้งเหตุการณ์ Attack และ Defense โดยที่ผู้เข้าแข่งขันต้องดำเนินการหาธงที่ซ่อนอยู่ออกมาจากไฟล์ โปรแกรม หรือชุดข้อมูล ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น Crack Password, Reverse engineering, Web Application Hacking เพื่อให้กรรมการตรวจสอบความถูกต้อง โดยการแข่งขันลักษณะนี้มุ่งส่งเสริมให้ผู้เข้าแข่งขันนำความรู้ทางด้าน Cybersecurity ในการแก้โจทย์ต่างๆ โดยแต่ละข้อเป็นการสร้างโจทย์ให้เสมือนสถานการณ์จริง แต่ลดความซับซ้อนเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและสามารถทำการโจมตี หรือวิเคราะห์ได้ภายในเวลาที่กำหนดได้

มีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน 7 ทีม จำนวน 19 คน จาก 10 โรงเรียน  5 จังหวัด คือ พัทลุง สงขลา สุราษฎร์ธานี  ลำปาง พะเยา ทั้งออนไซต์และออนไลน์ โดยใช้แพลตฟอร์มการแข่งขันที่สาขาวิชาได้ดำเนินการพัฒนาขึ้นมาเอง

กำหนดการ
  • 09.00-12.00 ทีมต่าง ๆ เข้าร่วมการแข่งขัน ณ ห้องประชุมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • 13.00 น. ประกาศผลารแข่งขัน
ภาพการแข่งขัน

a4

a2

ผลการแข่งขัน

Link ผลการแข่งขัน

 ctf1

มีผลการแข่งขันดังต่อไปนี้

  • รางวัลชนะเลิศ ทีม H47Y41_G01N73r
    • ไลย์ ประดิษฐ์ มอ. วิทยานุสรณ์
    • เบญญาภา ขวัญแก้ว หาดใหญ่วิทยาลัย
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม w,ji^h 
    • พชรพล นิลคง โรงเรียนลำปางกัลยาณี 
    • ธนดล สีโสดา โรงเรียนลำปางกัลยาณี 
    • ก้องภพ เกียรติศักดิ์กำจาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทีม Find The Flag 
    • ชัยพร รัชนีย์ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา 
    • กีรติ นาคมาศ โรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา 
    • วรรณชัย คงนุกูล โรงเรียนเกาะสมุย
  • รางวัลชมเชย ทีม อ่างหนูเสือ 
    • เดชพงศ์ พรมพินิจ หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา
    • ภูริเดช ตะวันออก หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา
    • สิริพงศ์ ทองเลียบ หาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา
กิจกรรมแนะนำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

กิจกรรม CoE Open House จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-9 สิงหาคม  พ.ศ. 2567 โดย รศ.ดร.ปัญญยศ ไชยกาฬ  ผศ.ดร.กฤษณ์วรา รัตนโอภาส ประธานหลักสูตร ตรี โท เอก สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ตุณอนุชา รัตนะ คุณไพบูลย์ คุณอนันต์ นิลโกสีย์ คุณพิพัฒน์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของสาขาวิชา และทีมนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์

s5

i1

s1

308340

308341

308342

308343

308344

308345308346

 s2

s3

s6

s4

 

ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับคัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างดีเด่น ด้านกิจการนักศึกษา ระดับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2566

ทั้งนี้ เนื่องจากอาจารย์มีบทบาทสำคัญในการอุทิศตนและผลักดันทั้งในด้านวิชาการและกิจกรรมนักศึกษาให้กับทีม  Formula 1 ชื่อทีม "ลูกพระบิดา" ของของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จนกระทั่งประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในปี 2566 ที่ผ่านมา

โดยเข้ารับพระราชทานรางวัล จาก ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2567 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อ่านเพิ่มเติมคำสดุดีเกียรติคุณและข้อเขียนเกี่ยวกับรางวัลนี้ของอาจารย์ได้ที่หอประวัติ

Alibaba Cloud Academy จัดบรรยายพิเศษและการสอบประกาศนียบัตรให้กับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 1-4 ของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในระหว่างวันที่ 25-29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ในชุดวิชา 240-229 Software-defined Architecture Engineer ชุดวิชา 240-124 Web Designer and Developer และชุดวิชา 240-332 Game Designer and Developer โดย Dr. Papon Yongpisanpop, Training Advisor เป็นวิทยากรและมีกำหนดการดังนี้

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

เวลา 8.00-11.00 น.  ACA Cloud Computing Day 1 (Elastic Compute Service, Relational Database Service, Object Storage Service) สำหรับชุดวิชา 240-229 Software-defined Architecture Engineer  ณ ห้องหัวหุ่นยนต์ และ Zoom Online

เวลา 15.00-17.00 น. ACA Cloud Computing( Introduction to Cloud Computing) สำหรับชุดวิชา 240-124 Web Designer and Developer ณ ห้องหัวหุ่นยนต์ และ Zoom Online

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 

เวลา 9.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น.  ACA Cloud Computing Day 2 (Server Load Balancer, Auto Scaling) สำหรับชุดวิชา 240-229 Software-defined Architecture Engineer  ณ ห้องปฏิบัติการ R301A และ Zoom Online

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

เวลา 13.00-16.00 น. สำหรับชุดวิชา 240-332 Game Designer and Developer ณ ห้อง R201 และ Zoom Online

วันพฤหัสที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 

เวลา 13.00-16.00 น. Preparation & Exam ACA Cloud Computing สำหรับชุดวิชา 240-229 Software-defined Architecture Engineer และผู้สนใจทั่วไป ทางออนไลน์

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 

เวลา 13.00-16.00 น. Alibaba Invitation: DEPA + CEO บริษัทเกม - Online สำหรับชุดวิชา 240-332 Game Designer and Developer    

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของ Academic MOU ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Alibaba Cloud Academy

a1

a4

a5

a7

การสอบประกาศนียบัตร  Alibaba Cloud Certification (ACA) Cloud Computing ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567

Capture2

 

? บรรยายจาก DEPA และ สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย ?
? Sharing Session: Thailand Gaming Trends ?
วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
กำหนดการ
13:15 - 13:35 (20 นาที)
DEPA Sharing Session โดย คุณ สุภัสสร บรรณโศภิษฐ์ ผู้จัดการส่วนส่งเสริมการตลาด DEPA
- Digital content (Game, Animation, Character) Overview
- DEPA Fund/Support
13.35-13.45 Q&A (10 นาที)
13:45 - 14:10 (25 นาที)
CEO Gaming Sharing Session โดย คุณศรัณย์พัจน์ เสรีวิวัฒนาอุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย และกรรมการผู้จัดการบริษัท รีโวลูชั่น อินดัสตรี จำกัด
14.10-14.20 Q&A (10 นาที)

d3

d7

d6

c1

c2

c3

c5

aa2

 



 

Dr. Papon Yongpisanpop, Training Advisor for Alibaba Cloud International เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Alibaba Cloud and Generative AI” ให้กับคณาจารย์และนักศึกษา ในวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2567 13.00 - 16.00 น.   ณ ห้องปฏิบัติการ R302 และผ่านการไลฟ์ผ่านเพจ  คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยการบรรยายนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดวิชา  Ai for Social Media  และชุดวิชา  AI Ecosystem

f1

f3

q15

f4

f2

q1

q16

q13

q14

q12

q7

q10

q9

q8

q5

q3

Facebook Live 
https://www.facebook.com/share/v/ESp5j6wH6F9Ecq4p/

 

Screenshot 20240709 234152 Messenger

บรรยากาศงาน

ดูวิดีโอได้ที่นี่ VLOG นาทีที่ 14.14 เริ่ม CTF Workshop
Screenshot 20240709 234220 Messenger
Screenshot 20240709 235033 Messenger
Screenshot 20240709 235035 Messenger
Screenshot 20240709 235401 Messenger
Page 4 of 23
Go to top