สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. โกสินทร์ จำนงไทย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บรรยายในหัวข้อ Machine-Learning-Based System Implementation in Digital Transformation   ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 - 14.40 น. ณ ห้องประชุมดงยาง 1 และ Zoom Online โดยการบรรยายนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดวิชา 241-353 ชุดวิชาระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Ecosystem Module) ซึ่งมีนักศึกษาจากทั้ง 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้

DSC09606

DSC09608

DSC09614

DSC09615

DSC09616

DSC09618

DSC09620

DSC09627

DSC09642

DSC09663

DSC09666

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร. โกสินทร์ จำนงไทย ยังได้เป็นเป็นประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หัวข้อ Advancements in Digital Pathology for Multi-tissue Histological Images ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายอรรถสุนทร ไตรสุวรรณ ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 14.45 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  R101 อีกด้วย

a1

a3

a22

toneviva

 

 

ในระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม 2567 - 3 กันยายน 2567  นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science หรือ  JST (Japan Science and Technology) Sakura Science Program โดยเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ณ  Miyazaki University ประเทศญี่ปุ่น และนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567

ในงานนี้มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 4 คน โดยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก 2 คน และ ระดับปริญญาโท 2 คน จากคณะทรัพยากรธรรมชาติและคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.ชุติมา ตันติกิตติ จากสาขาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Prof. Dr. Thi Thi Zin  เป็นผู้ดูแลโครงการ JST Sakura Science Program ของ Miyazaki University

รายนามนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่เข้าร่วมโครงการ

  • ระดับปริญญาโท นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม
  • ระดับปริญญาเอก นายเตาฟีก หลำสุบ

a5

คณะเดินทางจากประเทศไทย 

a3

ภาพการนำเสนอผลงาน ณ  Miyazaki University

z3

z4

z6

z8

ภาพในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567

z2

z12

z13

m1

นายเตาฟีก หลำสุบ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาเอก นำเสนอในหัวข้อ A Scalable Architecture for Improving Adaptive Bitrate Streaming Services

z11

 q3

q1

นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาโท นำเสนอในหัวข้อ Time-Driven Cost Estimation Learning Model

 w2

w9

w7

w5

 

ทัศนศึกษา วันที่ 1 กันยายน 2567

เยี่ยมชมน้ำตกและศาลเจ้า รับประทานอาหาร

 t1

t2

t3

t4

d1

d2

t5

 เยี่ยมชมฟาร์มปศุสัตว์ ที่ดูแลด้วยระบบ IoT วันที่ 2 กันยายน 2567

ชมระบบฟาร์มและงานวิจัยเกี่ยวกับ image processing ที่ใช้กับการบริการจัดการฟาร์ม

 y2

y1

y3

y7

y5

y6

y8

y4

สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น วันที่ 2 กันยายน 2567

j1

j2

นำเสนอโปสเตอร์ในกิจกรรมของ  Sakura Science Program วันที่ 2 กันยายน 2567

j3

j4

 

นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อทีม AI Rebar Auto Vision ได้รับรางวัลชมเชย จากการแข่งขัน STECON Construction Innovation Challenge 2024 ซึ่งจัดการแข่งขัน โดย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 9 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ในโครงการ STECON Construction Innovation Challenge ครั้งที่ 2 เพื่อให้นิสิตนักศึกษาใช้ความรู้ด้านวิศวกรรม ความคิดสร้างสรรค์ ค้นหานวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดผลกระทบต่อสังคม เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งหวังการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยให้ยั่งยืน
โดยในวันที่ 16 สิงหาคม  พ.ศ. 2567 มีนิสิตนักศึกษา ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 10 ทีม ได้นำเสนอผลงาน มีคณะกรรมการจากบริษัทซิโน-ไทยฯ 8 ท่าน 

รายชื่อสมาชิกทีม AI Rebar Auto Vision

1. นายชวินธร ชื่นชม ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
2. นางสาวพิชญ์ณัญญา แสนประเสริฐ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
3. นางสาวจรัญญา บุญทอง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
4. นางสาวณัฏฐธิชา วงศ์เดช ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
6. นายดุริย โกศลเหมมณี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
7. นายธัชชยุต ดำรงธนกิตติ์ ชันปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและเมคาทรอนิกส์
8. นายอินทัช เลิศวัฒนา ชันปีที่ 2 สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ

 st2

st4

st3

st7

Prof. Dr. Thi Thi Zin จาก Information and Communication Technology Program, Faculty of Engineering, Miyazaki University เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และประชุมชี้แจงเรื่องนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ JST Sakura Science Program ณ ห้อง 265 อาคาร 2 คณะทรัพยากรธรรมชาติ ใน วันที่ 14 สิงหาคม 2567 ซึ่งจะมีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วม 4 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก 2 คน และ ระดับปริญญาโท 2 คน จากคณะทรัพยากรธรรมชาติและคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมี ผศ.ดร.ชุติมา ตันติกิตติ จากสาขาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผู้ประสานงานหลัก

ttz2

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่เข้าร่วมโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science หรือ  JST (Japan Science and Technology) Sakura Science Program จะเดินทางไปนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28-29 สิงหาคม 2567

ในงานนี้มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 4 คน โดยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเ

และเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการที่ Miyazaki University ประเทศญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม 2567 - 3 กันยายน 2567 

  • ระดับปริญญาโท นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม
  • ระดับปริญญาเอก นายเตาฟีก หลำสุบ

 ttz1

ttz10

ttz4

ttz6

ttz7

ttz8

ttz9

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ร่วมร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยประสานงานระดับภูมิภาค จัดการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 (The 26th National Software Contest)  หรือที่รู้จักกันในนาม NSC 2024  ภาคใต้ รอบ 2 ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ที่ลานใต้ตึกหุ่นยนต์

โดยมีนักเรียนและนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วภาคใต้ เข้าร่วมการแข่งขัน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับ นักเรียน นิสิตและนักศึกษา

2. เพื่อพัฒนาทักษะความคิดริเริ่มในการเขียนโปรแกรมอันจะเป็น รากฐาน ที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์ในอนาคต

3. เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านการ พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถเกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป

4. เพื่อสร้างเวทีการแข่งขันและสร้างความสนใจสำหรับเยาวชนที่มีความ สามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคนิคการเขียนโปรแกรม

5. เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ต้นแบบที่หลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

เป้าหมาย

1. สร้างเวทีการแข่งขันด้านซอฟต์แวร์ระดับเยาวชนและระดับชาติ ตลอดจนนำผลงานไปสู่เชิงพาณิชย์และสังคมต่อไป
2. สร้างโอกาสและสนับสนุนนักพัฒนาโปรแกรมที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จะพัฒนาไปสู่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพต่อไป
3. สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาและการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย

หัวข้อการแข่งขัน

ระดับนิสิต นักศึกษา

หมวด 11 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง

หมวด 12 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้

หมวด 13 โปรแกรมเพื่อสุขภาพ คนพิการ และผู้สูงอายุ

หมวด 14 โปรแกรมเพื่องานการ พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

ระดับนักเรียน

หมวด 21 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง

หมวด 22 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้

หมวด 23 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ ใช้งาน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแข่งขันได้ที่นี่

n1

n2

n3

n5

n6

n7

n8

n8

n9

n11

n12

 

ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย จัดให้มีการพิจารณาคัดเลือกวิทยานิพนธ์ดีเด่นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจําปีการศึกษา 2566 นายเฒาฟิก เพ็งโอ รหัสนักศึกษา 6210120056 มหาบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ดร.ปัญญยศ ไชยกาฬ  อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับคัดเลือกรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท รางวัลชมเชย สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ประจำปีการศึกษา 2566
วิทยานิพนธ์ชื่อ : การเพิ่มประสิทธิภาพในการหาขอบภาพโดยใช้ชุดคําสั่ง AVX บนสถาปัตยกรรมมัลติคอร์ (Optimization of Edge Detection using AVX Intrinsics on Multi-core Architectures) 
วิทยานิพนธ์ดังกล่าวนําเสนอแนวคิดในการเพิ่มความเร็วของการหาขอบภาพ ส่งผลให้สามารถลดเวลาในการประมวลผลลงและประหยัดพลังงานในการคํานวณได้เพิ่มขึ้น วิธีการเพิ่มความเร็วที่นําเสนอ มี 2 วิธี คือ
  1. การลดจํานวนครั้งของการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ลง โดยการแบ่งกลุ่มของข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อที่จะให้ข้อมูลผลลัพธ์ที่ คํานวณเสร็จสิ้นนั้นสามารถถูกนํามาใช้ซํ้าได้โดยมิต้องคํานวณใหม่ในเส้นภาพบรรทัดถัดไป เมื่อจํานวนโอเปอเรชันทาง คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้ลดลง จึงสามารถเพิ่มความเร็วในการ ประมวลผลได้ อีกทั้งยังต้องการพลังงานในการประมวลผลที่ลดลงอีกด้วย
  2. การนําข้อมูลเข่ามาประมวลผลในซีพียูทีละหลาย ๆ ชุดด้วยชุดคําสั่งประมวลผลแบบเวกเตอร์ หรือชุดคําสั่ง AVX ซึ่งช่วยให้การคํานวณเสร็จเร็วขึ้นกว่าการคํานวณทีละข้อมูล
ผลงานจากวิทยานิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในวารสารวิชาการและงานประชุมวิชาการนานาชาติ ดังนี้
  • เผยแพร่ในวารสารวิชาการ
Peng-o, T. and Chaikan, P., “High performance and energy efficient Sobel edge detection,” Microprocessors and Microsystems, Vol. 87, Article Number 104368, Available online: 27 October 2021
  • เผยแพร่ในงานประชุมวิชาการ
Peng-o, T. and Chaikan, P., "Optimization of Edge Detection using AVX Intrinsics on Multi-core Architectures", Proceedings of the 2022 International Technical Conference on Circuits/Systems, Computers and Communications (ITC-CSCC), Phuket, Thailand, July 5-8, 2022. DOI: 10.1109/ITC- CSCC55581.2022.9894947
 
503350
w1
503349
C1
C2
Page 2 of 21
Go to top